งานประดับมุกแบบญี่ปุ่น



งานประดับมุกแบบญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลในไทยมีชื่อเรียกว่า งานประดับมุกแบบนางาซากิ (NagasakiRaden) และ งานประดับมุกแบบริวกิว (RyukuRaden) ทั้งสองรูปแบบถือเป็นงานประดับมุกชั้นสูงของญี่ปุ่น ที่มาของแต่ละชื่อมาจากชื่อจังหวัดในประเทศที่ได้มีการส่งออกงานประดับมุกมายังประเทศไทย โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคืองานประดับมุกแบบนางาซากิที่มีการค้นพบจากหลักฐานในประเทศไทยหลายชิ้น ส่วนใหญ่พบในสถานที่สําคัญเกี่ยวข้องกับ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่งานประดับมุกแบบนางาซากินี้เป็นงานที่เน้นสีสันของลวดลายมากกว่าแบบไทย วัสดุหลักในการทำได้แก่ เปลือกหอย ส่วนใหญ่เป็นหอยมุกไฟ หอยเป๋าฮื้อ และยางรัก ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการทำให้เปลือกหอยติดบนพื้นผิวสิ่งของเป็นน้ำยาเคลือบป้องกันผิวหุ่นและทำให้พื้นผิวมีเงาสวยงาม

อิทธิพลงานประดับมุกแบบนางาซากิที่ค้นพบในไทยเริ่มมาจากช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่มาจากสถานที่สำคัญต่าง ๆ โดยมีสถานที่แรกที่ได้รับการประดับด้วยรูปแบบนี้คือ พระอุโบสถ วัดนางชีโชติการาม มีการสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยาเพราะมีพระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปในวิหารเป็นศิลปะสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น ทำให้ได้มีการประดับตกแต่งภายในใหม่ โดยการทำบานประตูและบานหน้าต่างประดับมุกแบบนางาซากิ ในขณะเดียวกันที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีหลักฐานว่าการทำบานประตู บานหน้าต่างนี้ถูกทำขึ้นภายในประเทศและได้ส่งออกมาต่างประเทศจากการค้นพบงานประดับมุกในรูปแบบเดียวกันที่จังหวัดนางาซากิจากชิ้นงานบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ โดยลายประดับพระอุโบสถแห่งนี้เป็นลวดลายของ ธรรมชาติ ประกอบด้วยการตัดเปลือกหอยเปนรูปต้นไม้ และดอกไม้ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกลักษณะ ต่าง ๆ กันไป 


( บานไม้ประดับมุกญี่ปุ่น พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม )

( บานไม้ประดับมุกญี่ปุ่น พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม )


           จากงานประดับของวัดนางชีทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวได้นำงานประดับมุกนางาซากิมาใช้ในการทำบานประตู บานหนาต่าง พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามอีกเช่นกัน โดยลวดลายประดับเป็นภาพเรื่องราวบ้านเรือน บุคคลในเครื่องแต่งกายที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ประกอบ กับภาพธรรมชาติ นกและดอกไม้ซึ่งแสดงออกถึงลักษณะวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น อีกทั้งเทคนิคในการเขียนสี และปิดแผ่นเงินด้านหลังของเปลือกหอยเพื่อช่วยให้เปลือกหอยมีประกายและสีสันมากขึ้นล้วนเป็นเทคนิคของงานประดับมุกแบบญี่ปุ่นอย่างเดียวกับวัดนางชีและไม่พบจากแหล่งอื่น ๆ ที่เป็นงาน ประดับมุกอย่างไทย


( ลวดลายบานประตูประดับมุก พระอุโบสถ วัดนางชีโชติการาม )


จากข้อมูลข้างต้นทำให้สรุปได้ว่าการที่งานประดับมุขแบบญี่ปุ่นได้มีอิทธิพลในไทยในช่วง รัชกาลที่ 3 และ 4 นั้น เป็นเพราะการค้ากับต่างประเทศที่เริ่มมีความเจริญมากขึ้น ทำให้มีการรับอิทธิพลของศิลปะจากประเทศต่าง ๆ เข้ามาในไทย และเนื่องจากการประดับมุกแบบญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากแบบไทยตรงที่แบบญี่ปุ่นมีความละเอียดกว่า ใช้เปลือกหอยที่เล็กกว่าและมีสีสันมากกว่าแบบไทย ทำให้ได้รับความนิยมในช่วงนั้นเป็นอย่างมาก แต่หลังจากรัชกาลที่ 5 เริ่มมีช่างฝีมือญี่ปุ่นหายไปเป็นจำนวนมากจากสงครามโลก ทำให้ไม่มีการค้นพบงานประดับมุกแบบนางาซากิหรือริวกิวในไทยอีก ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้กรมช่างสิบหมู่ได้จำลองรูปแบบการประดับมุกขึ้นใหม่ให้คนไทยได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงขั้นตอนในการประดับมุกลงบนชิ้นงานต่าง ๆ ทำให้ได้เห็นถึงความแตกต่างของรูปแบบงานประดับมุกจากประเทศญี่ปุ่นและไทยได้ชัดยิ่งขึ้น


ขั้นตอนการประดับมุกแบบญี่ปุ่น จากช่างสิบหมู่ของไทย
  • การเตรียมเปลือกหอย
  • การทำชิ้นลายมุก

 
( ชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ )


แหล่งที่มา : 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
บทความเรื่อง RYUKYU MOTHER OF PEARL INLAY :THECREATION PROCESS ,  TOMOHITO TAKATA 
Facebook วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม